แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจโรงเรียนกวดวิชา

50far.com

ในเรื่องของการศึกษาถ้าใครมีเงินมากกว่าย่อมได้เปรียบ เลือกเรียนที่ไหนก็ได้ หากเรียนไม่เก่งก็เรียนเพิ่มในโรงเรียนกวดวิชาทำให้สามารถเรียนเก่งได้ ทำข้อสอบได้ แต่บางทีถึงแม้จะมีเงินพร้อมบางครั้งการสมัครเรียนไม่มีที่นั่ง ก็ต้องเรียนกับวีดีโอ เมื่อความต้องการทางด้านเรียนพิเศษเพิ่มมากขึ้น  จึงทำให้ธุรกิจทางด้านนี้เกิดการขยายตัว โดยเฉพาะการสอนด้านวิชาการ สำหรับคนที่ต้องการเรียนที่บ้าน ก็สามารถหาติวเตอร์มาสอนให้ได้แบบตัวต่อตัว แม้แต่ในโรงเรียนเอง ก็มีการสอนพิเศษหลังเลิกเรียนด้วย ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนของรัฐหรือเอกชน โดยส่วนใหญ่จะเป็นการทำการบ้านมากกว่าจะเรียนเพิ่มเติม ยกเว้นในช่วงสอบที่มีการสอนเพิ่มเติมหรือให้ทำข้อสอบเพื่อทบทวน การเรียนพิเศษที่กล่าวมายังไม่รวมถึงการเรียนพิเศษในด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ดนตรี ร้องเพลง กีฬา ศิลปะ เป็นต้น  เพื่อยกระดับทักษะชีวิต เพิ่มความสามารถพิเศษให้เด็ก

นอกจากติวเตอร์วัยรุ่นแล้วคุณครูตามโรงเรียนต่างๆก็เปิดสถาบันสอนกวดวิชาด้วย หรือเป็นอาจารย์พิเศษให้กับโรงเรียนกวดวิชาต่างๆ ซึ่งมีทั้งสอนเพื่อเพิ่มเกรดและเพื่อติวสอบเข้า การติวเพื่อเข้าเรียนได้รับความนิยมมากในเด็กและผู้ปกครอง เนื่องจากเชื่อมั่นในอาจารย์ผู้สอนที่จบมาจากมหาวิทยาลัยดังสามารถการันตีการสอนได้ โดยอาจคิดค่าสอนเป็นรายเดือนหรือรายชั่วโมง

สำหรับวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่จะเรียนภาษาต่างประเทศเพิ่มเติม เพื่อให้ในการทำงาน ใช้ในการเรียนต่อต่างประเทศ ทำให้สถาบันที่เปิดสอนมีมากขึ้น บางสถาบันมีหลายสาขาทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด ซึ่งมีไม่ต่ำกว่า 50 แห่ง มักตั้งอยู่ในย่านธุรกิจอย่างสยาม สีลม อโศก เป็นต้น นอกจานี้ยังมีภาษาอื่นๆ เช่น ภาษาเกาหลี ภาษาญี่ปุ่น และภาษาฝรั่งเศส

การเติบโตของสถาบันการศึกษามีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ แสดงให้เห็นได้ว่าการศึกษาภายในห้องเรียนไม่เพียงพอให้เด็กก้าวสู้อนาคตที่ต้องการได้ หากเรียนเพื่อเพิ่มเกรด นั่นหมายถึงเรียนในห้องเรียนแล้วไม่เข้าใจ หากติวเพื่อสอบเข้านั่นหมายถึง เด็กและผู้ปกครองให้ความสำคัญกับข้อสอบมากกว่าเนื้อหาทั้งหมดที่ต้องเรียนรู้ เมื่อสอบเสร็จเด็กก็ลืมหมด เพราะต้องการเรียนมาแค่ทำข้อสอบได้เท่านั้น เด็กไม่รู้และไม่เข้าใจเนื้อหา ก็ไม่สามารถที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

ก้าวย่างของธุรกิจการศึกษาไทยสู่ ประตู AEC ทีเปิดกว้าง

หลังจากการเปิดเสรีภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ในปี 2558 บทบาทของธุรกิจการศึกษาคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจากการศึกษาเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน รวมถึงเพิ่มศักยภาพในการขยายการค้าและการลงทุนไปยังตลาดอาเซียน ก่อนเวลานั้นมาถึงอยากทราบว่าปัจจุบันวงการการศึกษาไทยอยู่ตรงไหนในอาเซียน

เมื่อเทียบกับหลายประเทศในอาเซียนแล้ว วงการการศึกษาไทยนับว่ามีศักยภาพสูงเป็นอันดับต้นๆ โดยมีมหาวิทยาลัย 2 แห่งของไทยติดอันดับมหาวิทยาลัยดีที่สุด 400 อันดับแรกของโลกปี 2554 ซึ่งจัดอันดับพร้อมทั้งให้คะแนนโดย Quacquarelli Symonds (QS) นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยของไทยยังได้รับความนิยมในฐานะที่เป็นจุดหมายของการศึกษาต่อของนักศึกษาประเทศเพื่อนบ้านทั้ง สปป.ลาว กัมพูชา และพม่า ขณะที่ภาษาไทยเองก็เริ่มเป็นที่นิยมในการเรียนเช่นเดียวกัน เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านมองว่าภาษาไทยมีความสำคัญในการสื่อสารและการจ้างงาน จนมีนักวิเคราะห์บางรายมองว่าที่ตั้งของไทยซึ่งอยู่ใจกลางของอาเซียนเป็นปัจจัยเอื้อให้เมื่อเปิด AEC แล้ว ภาษาไทยอาจกลายเป็นภาษากลางของอาเซียนทัดเทียมภาษาอังกฤษเลยทีเดียว อันจะยิ่งดึงดูดให้นักศึกษาจากประเทศอื่นๆ ในอาเซียนเดินทางเข้ามาศึกษาต่อในไทยมากขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อธุรกิจด้านการศึกษาของไทย อย่างไรก็ตาม หลังจากการเปิด AEC วงการศึกษาไทยอาจต้องเผชิญคู่แข่งอย่างสิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ซึ่งมีข้อได้เปรียบตรงที่เมื่อมองโดยภาพรวมแล้วทักษะการใช้ภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษากลางของโลกอยู่ในระดับดีกว่าไทย

ผู้ประกอบการธุรกิจการศึกษายังมีโอกาสขยายตลาดอีกมากหากพิจารณาจากความต้องการทางการศึกษาที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากรอาเซียน โดยหลังจากเปิด AEC แล้ว ผู้ประกอบการไทยสามารถดำเนินกิจการหลากหลายรูปแบบได้ง่ายขึ้น อาทิ การให้บริการการศึกษาแบบออนไลน์ การตั้งสถาบันการศึกษาหรือวิทยาเขตในอาเซียน รวมทั้งการส่งบุคลากรครูไปสอนยังประเทศต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการบริการด้านการศึกษาที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การเปิดเสรีภายใต้ AEC ด้านการศึกษาอาจต้องเผชิญกับข้อจำกัดด้านกฎหมายของประเทศต่างๆ อาทิ การจำกัดจำนวนผู้ให้บริการด้านการศึกษา สิทธิในการถือครองที่ดินของนักลงทุนต่างชาติ มาตรการด้านภาษีที่ไม่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจดังกล่าวของนักลงทุนต่างชาติ และการขอใบอนุญาตด้านการให้บริการ ทั้งนี้ การเปิดเสรีด้านการให้บริการการศึกษาจะสำเร็จได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากประเทศสมาชิกในการแก้ไขกฎหมายบางข้อให้เอื้อต่อการลงทุนของต่างชาติมากขึ้น นอกจากนี้ ผู้ประกอบการก็ควรให้ความสำคัญกับความหลากหลายของวัฒนธรรมของประเทศในอาเซียนที่ต้องการขยายตลาด เพื่อประกอบการวางนโยบายด้านต่างๆ ของสถานศึกษา อาทิ คอร์สที่เปิดสอน รวมทั้งกฎระเบียบต่างๆ

 

แฟรนไชส์ ธุรกิจการศึกษามาแรงยังคงได้รับความนิยม ธุรกิจมีแนวโน้มเติบโตอย่างสูง

556000016202901ธุรกิจการศึกษาโอกาสโตสดใส ผู้ปกครองต้องการเพิ่มศักยภาพให้แก่ลูกหลาน  ธุรกิจการศึกษาเพื่อเสริมความรู้และทักษะเติบโตต่อเนื่อง และคาดการณ์ปี 2557 แฟรนไชส์กวดวิชาและสอนภาษายังคงได้รับความนิยม ธุรกิจมีแนวโน้มเติบโตอย่างสูงมาจากปัจจัยค่านิยมของผู้คนในสังคมที่ต้องการพัฒนาศักยภาพของตนเองและค่านิยมของผู้ปกครองในการปลูกฝังทักษะต่างๆ สำหรับบุตรหลาน นำมาซึ่งโอกาสทางธุรกิจที่สำคัญสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจการศึกษาเพื่อเสริมความรู้และทักษะ

ประมาณการว่า ในปี 2556 ธุรกิจการศึกษาเพื่อเสริมความรู้และทักษะจะมีมูลค่าตลาดประมาณ 16,698 ล้านบาท และจะเติบโตร้อยละ 15.43 ไปสู่มูลค่าตลาดประมาณ 19,275 ในปี 2557 โดยแบ่งเป็นมูลค่าตลาดธุรกิจการศึกษาเพื่อเสริมความรู้และทักษะในกลุ่มที่ไม่ใช่แฟรนไชส์ประมาณ 16,438 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 14.68 จากปี 2556 ในขณะที่เป็นมูลค่าตลาดธุรกิจการศึกษาเพื่อเสริมความรู้และทักษะในกลุ่มที่เป็นแฟรนไชส์ประมาณ 2,837 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 20.00 จากปี 2556

แฟรนไชส์ธุรกิจการศึกษาเพื่อเสริมความรู้และทักษะ หรือแฟรนไชซอร์ในแต่ละปีไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก แต่จำนวนผู้ลงทุนในแฟรนไชส์ธุรกิจการศึกษาเพื่อเสริมความรู้และทักษะ หรือแฟรนไชซี  ที่เพิ่มมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากการขยายตัวของจำนวนสาขาแฟรนไชส์ธุรกิจการศึกษาเพื่อเสริมความรู้และทักษะที่มีการกระจายตัวไปในจังหวัดรองของภูมิภาคต่างๆ ประกอบกับการจัดเก็บค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้นของเจ้าของสิทธิแฟรนไชส์ธุรกิจการศึกษาเพื่อเสริมความรู้และทักษะ ทั้งค่าธรรมเนียมแรกเข้า (Franchise Fee) และค่าธรรมเนียมตามสัดส่วนผลการดำเนินงาน (Royalty Fee) เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้มูลค่าตลาดธุรกิจการศึกษาเพื่อเสริมความรู้และทักษะในกลุ่มที่เป็นแฟรนไชส์ขยายตัวอย่างรวดเร็ว

ธุรกิจการศึกษาเพื่อเสริมความรู้และทักษะที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนในรูปแบบแฟรนไชส์ที่ยังคงสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องท่ามกลางความไม่แน่นอนของสภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2557 ข้างหน้า ได้แก่ แฟรนไชส์ธุรกิจโรงเรียนกวดวิชา และแฟรนไชส์ธุรกิจสถาบันสอนภาษาต่างชาติ เนื่องจากยังมีความต้องการในตลาดอย่างต่อเนื่องจากการสอบแข่งขันเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยของนักเรียน และการเปิด AEC ซึ่งจะเห็นได้ว่าผู้ประกอบการแฟรนไชส์ธุรกิจการศึกษาเพื่อเสริมความรู้และทักษะทั้งสองกลุ่มดังกล่าวได้มีการปรับกลยุทธ์ ไม่ว่าจะเป็นการมุ่งเน้นคุณภาพของผู้สอน การปรับหลักสูตร การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน รวมถึงการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายในรูปแบบต่างๆ เพื่อรองรับการแข่งขันที่สูงขึ้น และตอบสนองต่อพฤติกรรมและความต้องการของผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงไป

ศาสตร์แห่งการถ่ายทอดความรู้ทางธุรกิจเพื่อให้ประชาชนมีทักษะในการทำงาน


ธุรกิจศึกษาเกิดขึ้นมาในยุคไล่เลี่ยกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมในฝั่งตะวันตก

เมื่อเริ่มมีการตั้งโรงงานผลิตสินค้าเพื่อทำการผลิตสินค้าจำนวนมากๆออกวางขาย ก็ส่งผลให้มีสินค้าหลากหลายชนิดทะลักสู่ท้องตลาด ประชาชนจากชนบทเริ่มทยอยเข้ามาอาศัยและทำงานอยู่ในเมือง โดยเฉพาะการทำงานในโรงงาน จึงเกิดเป็นสังคมอุตสาหกรรมขึ้นมา มีการแข่งขันค้าขายกันมากขึ้น กระบวนการแลกเปลี่ยนของต่อของก็เปลี่ยนเป็นการแลกเปลี่ยนของกับเงินแทน อุตสาหกรรมและการค้าขยายตัวทวีความซับซ้อนเพิ่มขึ้น จึงเกิดความต้องการแรงงานทั้งในภาคผลิตและภาคธุรกิจมากมายโดยเฉพาะคนที่มีความรู้และทักษะในงานธุรกิจ จึงเกิดมีโรงเรียนที่เปิดสอนวิชาที่เกี่ยวกับงานธุรกิจ โดยเฉพาะวิชาพิมพ์ดีดได้เปิดโอกาสให้สตรีมีโอกาสเข้ามาทำงานในภาคธุรกิจได้อย่างเต็มตัว ซึ่งการจัดการเรียนการสอนวิชาเหล่านี้ก็คือการจัดธุรกิจศึกษาในยุคแรก

การจัดการการศึกษาไม่ว่ารูปแบบใดจะต้องมีการขออนุญาต

มีหน่วยงานที่ควบคุมมาตรฐาน หลักสูตร กระบวนการหรือมีใบอนุญาตให้จัดตั้ง สำหรับผู้ที่อยู่นอกวงการการศึกษาบางครั้งอยากตั้งสถานศึกษาขึ้น ด้วยคิดว่าเป็นธุรกิจที่มั่นคง เพราะคนเราต้องพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว นอกจากนี้การศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต และมีคนในประเทศอีกมากมายที่ต้องการรับการศึกษา ดังนั้นถ้าทำธุรกิจทางการศึกษาก็จะได้กำไรมากว่าจะขาดทุนหรือล้มละลาย โดยเป้าหมายทางธุรกิจมักจะมุ่งไปสู่การพัฒนาองค์กรให้สามารถมีวัตถุดิบที่ดี มีกระบวนการที่มีประสิทธิภาพ ลงทุนน้อยได้ผลผลิตสูง มีตลาดรองรับและสามารถทำผลประโยชน์ได้สูงสุด

เป้าหมายทางธุรกิจการศึกษามีความแตกต่างอย่างมาก

เพราะวัตถุดิบนั้นเป็นมนุษย์ไม่ใช่วัตถุที่สามารถจะเลือกได้ให้เหมือนกันได้หมด ความแตกต่างหลากหลายของปัจจัยนำเข้าระหว่างธุรกิจ กับธุรกิจการศึกษาจึงแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ปัจจัยนำเข้าของธุรกิจการศึกษาก็เป็นลูกค้าของสถาบันการศึกษาซึ่งต้องเสียเงินเข้ามารับบริการการศึกษา ธุรกิจการศึกษาจึงเป็นธุรกิจที่ซับซ้อน เป้าหมายธุรกิจการศึกษาจะต้องแตกต่างจากเป้าหมายทางธุรกิจ นั่นคือโดยปรัชญาแล้วสถาบันการศึกษาจะต้องเป็นสถาบันที่ไม่มุ่งหวังกำไร ผู้ทำธุรกิจอาจแย้งอยู่ว่าทำธุรกิจไม่หวังกำไรจะทำไปทำไม

ธุรกิจการศึกษาเป็นการจัดการศึกษาซึ่งเอกชนเป็นหน่วยรับภาระการจัดการการศึกษาทั้งระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอุดมศึกษา การจัดการดังกล่าวจำเป็นต้องให้ผู้เรียนเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการเรียนทั้งหมดสำหรับบางความรู้จะเน้นธุรกิจการศึกษาระดับอุดมศึกษาเท่านั้น เนื่องจากรูปแบบของธุรกิจการศึกษาอาจจะจัดในรูปของหลักสูตรระยะสั้น ระยะยาว เป็นทางการ กึ่งทางการโดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้เข้ารับการศึกษาได้เพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ ทักษะ กระบวนการ และความชำนาญในศาสตร์ใดก็ได้ ดังนั้นจึงมีตั้งแต่โรงเรียนกวดวิชา ซึ่งอาจจะไม่มีสถานที่ของตนเองเป็นการเช่าสถานที่ ห้องเรียนเพียงห้องสองห้องไปจนกระทั่งเป็นสถาบันการศึกษาที่มีเนื้อที่หลายร้อยไร่ ต้องการเรียนหลากหลายมีผู้เรียนนับหมื่นคน

อย่าเริ่มธุรกิจเพื่อที่จะพบว่าชีวิตนั้นแขวนอยู่บนเส้นด้าย

ปีแรกของการทำธุรกิจนั้นจะเป็นปีแห่งการเรียนรู้ที่เนิ่นนาน…ไม่ว่าคุณจะพยายามระวังหรือมีความรู้มากแค่ไหนก็ตาม แต่ความผิดพลาดต่างๆ ก็เกิดขึ้นเสมอ ลองทำความคุ้นเคยกับไอเดียเหล่านี้ดู…หากคุณเปิดใจรับฟังจากผู้มีประสบการณ์อย่างตรึกตรอง คุณก็จะสามารถข้ามผ่านข้อผิดพลาดต่างๆที่เกิดขึ้นได้และนี่คือความผิดของธุรกิจใหม่ที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดพร้อมคำแนะนำในการหลีกเลี่ยง

ผู้เริ่มต้นธุรกิจใหม่น้อยรายที่จะวางแผนหรือกำหนดงบประมาณในการทำการตลาด เพราะคิดว่า การทำตลาดนั้นเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น หรือพวกเขามักจะเหมารวมการตลาดเข้ากับการขายด้วยความเข้าใจอย่างผิดๆ

‘การตลาดนั้นจะกังวลเกี่ยวกับการขายในวันพรุ่งนี้ แต่การขายจะปิดการขายในวันนี้’ ‘รอบเกิล์ฟแมน’ ผู้ก่อตั้งบริษัทสื่อสารการตลาดในเมืองซานโฮเซ แคลิฟอร์เนีย กล่าว ‘คุณไม่สามารถเริ่มจากการผลิตไปถึงการขายได้โดยข้ามการทำตลาดไป’

ความผิดพลาดที่ซ่อนอยู่ข้อนี้หมายถึงการอ่อนประสบการณ์ในการยืดขั้นตอนในวงจรการขาย โดยทั่วไป ผู้ประกอบการมักจ้างพนักงานขายก่อนอื่น แต่ในการจ้างเริ่มแรกนั้นควรเป็นการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญการตลาดคิดถ้อยคำต่างๆ จากนั้นจึงส่งทีมขายออกไปลุย

ธุรกิจที่มาแรงในเวลานี้ ต้องหนี้ไม่พ้นธุรกิจเสื้อผ้า

สินค้านัมเบอร์วันรองลงมาจากเรื่องอาหารการกิน หนีไม่พ้นคงเป็นเรื่อง “เสื้อผ้า” เนื่องจากเป็นสินค้าจำเป็นในการดำรงชีวิต รวมถึงมีเรื่องแฟชั่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เพราะฉะนั้นอย่าแปลกใจถ้าเห็นแม่ค้าหลายรายตั้งตัวได้ด้วยธุรกิจเสื้อผ้า ยิ่งถ้าช่วงต้นเดือนในทำเลดีๆ มั่นใจได้เลยว่าจะต้องขายดีเป็นเทน้ำเทท่า เพราะวัยหนุ่มสาวที่มีกำลังทรัพย์จะได้ออกมาใช้จ่ายกันสนุกสนาน

เรื่องแฟชั่นความสวยความงามนับว่าเป็นของคู่กันกับผู้หญิงมาแต่ไหนแต่ไร จะเห็นได้ว่ายุคนี้มีร้านค้าจัดจำหน่ายเสื้อผ้าเกิดขึ้นมากมาย รวมถึงตลาดเสื้อผ้าในบ้านเรายังมีการขยับขยายออกไปในหลายๆ ทำเล ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ตลาดนัดจตุจักร สยามสแควร์ แพลตตินั่ม เท่านั้น ปัจจุบันนี้ห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ ต่างก็หันมาเปิดพื้นที่บริเวณหน้าห้างฯ ให้แม่ค้าจะหน้าเก่าหน้าใหม่ได้เข้ามาจับจองพื้นที่เปิดร้านขายของ ซึ่งแม่ค้าเหล่านี้ส่วนมากก็จะขายสินค้าประเภทเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายเจาะกลุ่มลูกค้าที่มีหลากหลายประเภทแตกต่างกันออกไป

นอกจากนี้ยังมีบางส่วนที่ขยายกิจการด้วยการขายเสื้อผ้าทางออนไลน์ เกาะกลุ่มลูกค้าที่อาศัยความสะดวกสบายเพียงแค่คลิกเลือกชมเสื้อผ้าในแค็ตตาล็อคก็สามารถซื้อสินค้าทางออนไลน์ได้ง่ายๆ เป็นช่องทางเพิ่มรายได้ให้กิจการตนเองอีกทางหนึ่ง แม้ว่าการขายเสื้อผ้าทางออนไลน์อาจจะยังไม่ใช่ตลาดหลักทางธุรกิจที่เจ้าของธุรกิจจะลงหลักปักฐานได้แน่นอน แต่ด้วยความทันสมัยของเทคโนโลยี ประกอบกับช่วงภาวะข้าวยากหมากแพง จึงทำให้บางคนมองเห็นช่องทางออนไลน์นี้เป็นแหล่งที่น่าลงทุนในการขายเสื้อผ้าในช่วงจังหวะเริ่มต้นของการทำธุรกิจเสื้อผ้า เรียกว่าเป็นการลองสนามทางการค้าก่อนเปิดร้านขายจริงนั่นเอง ผนวกกับแม่ค้าขายเสื้อผ้าหน้าเก่าดังที่ได้กล่าวไว้แล้วต่างก็มองเห็นช่องทางออนไลน์เป็นช่องทางที่จะเพิ่มรายได้ให้แก่กิจการของตนได้พร้อมๆกัน

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ล้วนเป็นภาพสะท้อนว่าการทำธุรกิจเสื้อผ้ากำลังเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน โดยเฉพาะกับนักธุกิจหน้าใหม่ที่ไม่ว่าจะเป็นบัณฑิตจบใหม่ ตลอดจนคนวัยทำงานทั่วไปที่กำลังมองหาการทำธุรกิจอย่างหนึ่งมาเป็นอาชีพเสริม

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ 50FAR บล็อกที่จะนำเสนอ และชื่นชมไอเดียการทำธุรกิจต่าง ๆ ให้คุณอ่าน

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ 50FAR บล็อกที่จะนำเสนอ และชื่นชมไอเดียการทำธุรกิจต่าง ๆ ให้คุณอ่าน

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ 50FAR บล็อกที่จะนำเสนอ และชื่นชมไอเดียการทำธุรกิจต่าง ๆ ให้คุณอ่าน

สวัสดีผู้อ่าน ๆ ทุก ๆ ท่านเลยนะครับ สำหรับบทความนี้ก็ถือได้ว่าเป็นบทความเปิดตัวสำหรับเว็บบล็อก 50FAR เลยก็ว่าได้ครับ สำหรับคอนเซปต์คร่าว ๆ ของบล็อกนี้ก็คือการที่ผมเองนั้นมีโอกาสได้พบเห็นพบเจอ ไอเดีย การค้า การขาย หรือการทำธุรกิจอะไรก็แล้วแต่นะครับ ผมก็จะมาเล่าให้เพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ได้อ่านกันที่นี่เลย และผมเองก็หวังเป็นอย่างยิ่งครับว่าการเขียนบล็อกของผมในครั้งนี้นั้น จะสามารถสร้างประโยชน์ต่าง ๆ ให้ผู้อ่านได้ไม่มากก็น้อยครับ

สำหรับเพื่อน ๆ ที่มีแนวคิดดี ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกิจ หรือมีความคิดดี ๆ จากการที่ได้ไปพบเจอ พบเห็น ก็สามารถเข้ามาแนะนำกับเราก็ได้ครับ ซึ่งความคิดไหนถูกใจผมเขียนลงบล็อกให้อย่างแน่นอนครับผม ขึ้นชื่อว่าการทำธุรกิจ หรือการทำอะไรก็แล้วแต่นั้น ในเรื่องของความคิด และไอเดีย ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ ครับ เพราะในส่วนนี้ก็สามารถสร้างความแตกต่างในตลาดธุรกิจที่เราทำอยู่ได้แล้ว

แต่คิดว่าไม่เพียงแค่นั้นครับ เชื่อว่ายังคงมีอีกหลากหลายเรื่องกันเลยทีเดียว เพราะว่าธุรกิจนั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อนในหลาย ๆ เรื่องประกอบกัน ดังนั้นการผลักดันให้เห็นถึงแนวคิด หวังว่าจะสามารถต่อยอดให้ผู้อ่าน หรือผู้ที่หลงเข้ามาในเว็บบล็อกแห่งนี้นั้นได้รับประโยขน์ร่วมกันไปครับ บางครั้งสำนวนการเขียนอาจจะไม่ดีพออย่างไร ผมก็ขออภัย มา ณ ที่แห่งนี้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ สวัสดีครับ แล้วพบกันบทความไอเดียธุรกิจบทความหน้าครับ