การศึกษาการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า

22-9-53เงินตราต่างประเทศ คือเงินตราของประเทศอื่นซึ่งอยู่ในความครอบครองของเอกชน และรัฐบาลของประเทศใดประเทศหนึ่ง อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศคือราคาหรือค่าของเงินตราต่างประเทศหนึ่งหน่วยปัจจัยที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ คืออุปทานอุปสงค์ของเงินตราต่างประเทศ ทฤษฎีอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่สำคัญมี 2 ทฤษฎีคือ ทฤษฎีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนโดยดุลการชำระเงิน และทฤษฎีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนโดยอาศัยอำนาจซื้อเปรียบเทียบ อัตราแลกเปลี่ยนดุลยภาพ คืออัตราแลกเปลี่ยนที่ทำให้อุปสงค์ต่อเงินตราต่างประเทศในขณะใดขณะหนึ่ง เท่ากับอุปทานของเงินตราต่างประเทศในขณะนั้น

การซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าช่วยให้ธุรกิจสามารถบริหารผลกำไรให้มีความแน่นอนได้ตั้งแต่วันที่ทำธุรกรรม Forward ทำให้ผลการดำเนินธุรกิจไม่ผันผวนตามอัตราแลกเปลี่ยนที่อาจเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะตลาด เช่น หากคุณคือผู้ส่งออกหรือผู้มีรายได้เป็นเงินสกุลต่างประเทศ และมีต้นทุนเป็นเงินบาท คุณสามารถแปลงรายได้เป็นสกุลเงินบาท ทำให้ทราบอัตราผลกำไรในสกุลเงินบาทได้ทันทีหลังได้รับคำยืนยันสั่งซื้อสินค้าหรือบริการ โดยไม่ต้องเสี่ยงกับการแข็งค่าของเงินบาทในอนาคตอีกต่อไป หรือหากคุณคือผู้นำเข้าหรือผู้มีค่าใช้จ่ายเป็นเงินสกุลต่างประเทศ และมีรายได้เป็นเงินบาท คุณสามารถแปลงค่าใช้จ่ายเป็นสกุลเงินบาท ทำให้ทราบอัตราผลกำไรในสกุลเงินบาทได้ทันทีหลังทำการสั่งซื้อสินค้าหรือบริการ โดยไม่ต้องเสี่ยงกับการอ่อนค่าของเงินบาทในอนาคตอีกต่อไป เพื่อเป็นทางเลือกให้ท่านใช้บริหารความเสี่ยงจากรายได้หรือค่าใช้จ่ายสกุลเงินต่างประเทศที่กำลังจะมีการส่งมอบในอนาคต จากธุรกรรมการค้า การกู้ยืม การลงทุน และบริการระหว่างประเทศที่ท่านได้ตกลงกับคู่สัญญาไว้แล้ว เช่น คำสั่งซื้อสินค้า การจ่ายคืนเงินกู้ต่างประเทศ เป็นต้น

ตลาดเงินตราต่างประเทศ
1.ตลาดเงินตราต่างประเทศ คือตัวกลางในการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลต่างๆ ตลาดเงินตราต่างประเทศไม่จำเป็นต้องมีสถานที่ตั้งแน่นอนเหมือนกับตลาดสินค้าและบริการ
2.การซื้อขายเงินตราต่างประเทศสามารถทำได้ 3 รูปแบบคือ โดยการโอนเงินตราต่างประเทศ การซื้อขายเงินตราต่างประเทศในมือและเช็คเดินทาง และการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า
3.การรักษาเสถียรภาพในตลาดเงินตราต่างประเทศ หมายถึงการรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนให้มีเสถียรภาพ คือพยายามไม่ให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเปลี่ยนแปลงเร็วเกินไป

การส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาแก่ผู้พิการอย่างครบถ้วน

20140227_vcbmrxfjปัจจุบันการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการของประเทศไทยได้ดำเนินการโดยตระหนักถึงเรื่องสิทธิมนุษยชนที่ทุกคนควรจะได้รับโอกาสทางการศึกษาทัดเทียมกัน ซึ่งการดำเนินงานในส่วนคนพิการนี้เป็นภาระหน้าที่โดยตรงของกระทรวงศึกษาธิการ และกำลังจะพัฒนาการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้นในอนาคต การดำเนินการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการได้รับความสนใจจากสังคมและผู้เกี่ยวข้องเป็นอันมาก ซึ่งคนพิการทุกคนที่อยากเรียนต้องได้เรียน สำหรับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการที่รับผิดชอบโดยตรงด้านการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการนั้น ปัจจุบันอาจจะกล่าวได้ว่าคนพิการของประเทศไทยได้รับโอกาสทางการศึกษามากกว่ายุคใดๆที่ผ่านมา เพื่อมุ่งให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

การวางแผนและการจัดทำโครงการเพื่อจัดการศึกษาสำหรับคนพิการมีความสำคัญมาก และเป็นงานที่มีความละเอียดอ่อน และมีข้อจำกัดมากกว่าการวางแผนการศึกษา โดยทั่วๆไปการศึกษาจะต้องช่วยให้คนพิการสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งสังคมจะต้องเปลี่ยนแนวความคิดและมุมมองที่รับรู้ในอดีตว่าคนพิการเป็นคนที่มีความทุกข์ จะต้องได้รับการช่วยเหลือตลอดเวลานั้นเรื่องเหล่านี้ได้เปลี่ยนไปแล้ว สังคมจะต้องมีมุมมองสำหรับคนพิการใหม่ว่า คนพิการเป็นผู้ที่มีความสามารถพัฒนาศักยภาพของตัวเองได้ ไม่เป็นภาระของสังคม และสังคมควรจะชื่นชมในการพัฒนาศักยภาพของเขาด้วย ดังนั้นหากสังคม รัฐบาล มูลนิธิ และเอกชนสนับสนุนรวมทั้งเปิดโอกาสทางการศึกษา การฝึกฝนอบรมให้อย่างจริงจัง ผู้พิการดังกล่าวก็จะสามารถช่วยเหลือส่วนรวมได้ในหลายๆด้านอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการเพื่อมุ่งเน้นพัฒนาความสามารถคนพิการให้เต็มศักยภาพของแต่ละบุคคล โดยการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม หรือแรกพบความพิการให้การศึกษาอบรมให้รู้จักสิทธิและหนาที่ในฐานะพลเมืองดี มีอาชีพ มีงานทำ สามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับผู้อื่นในสังคม ช่วยเหลือตนเอง และมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ โดยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแก่เด็กพิการหรือผู้ที่มีความบกพร่องย่อมแตกต่างกันไปตามความพิการหรือความบกพร่องของแต่ละประเภท จึงจำเป็นต้องมีการจำแนกความพิการหรือความบกพร่องให้ชัดเจน เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนสอดคล้องตามความต้องการจำเป็นและศักยภาพของคนพิการ ให้บังเกิดในการพัฒนาอย่างแท้จริง

การศึกษาแนวโน้มการวางกลยุทธ์ทางธุรกิจในอนาคต

การเปลี่ยนแปลงด้านความคาดหวังและพฤติกรรมของลูกค้าที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี และการปรากฏตัวของจีนในฐานะผู้นำด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยี การศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างในระดับภูมิภาคที่น่าสนใจ ด้วยความเห็นที่ต่างกันในเรื่องต่างๆ โดยผู้ร่วมตอบคำถามจากเอเชีย ยุโรป และอเมริกา อย่างไรก็ตามผู้เข้าร่วมตอบแบบสอบถามจำนวนมากซึ่งไม่ว่าจะเป็นชนชาติใดต่างให้ความสนใจกับบริษัทและบุคลากรในเอเชีย

ภาวะโลกร้อน และการลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ภาวะโลกร้อนเป็นความท้าทายอันยิ่งใหญ่ที่มวลมนุษยชาติต้องเผชิญ ในอนาคตการตัดสินใจซื้อสินค้าจะไม่ยึดแบรนด์ คุณภาพและราคา แต่จะคำนึงถึงผลกระทบของสินค้าและบริการที่มีต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ หากวันนี้คุณอ่านฉลากบนขวดแยม คุณจะพบว่ามีปริมาณแคลอรี่ระบุอยู่บนขวด แต่ในปี 2563 บนฉลากจะมีการชี้แจงเพิ่มเติมถึงปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาจากกระบวนการผลิตและการขนส่งสินค้า ผู้บริโภคยินดีที่จะจ่ายมากขึ้นอีกระดับหนึ่งเพื่อให้ได้สินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พฤติกรรมผู้บริโภคจะก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างแน่วแน่ในด้านการปรับปรุงมาตรฐานสิ่งแวดล้อม และผู้ให้บริการที่ปัจจุบันไม่ค่อยใส่ใจในเรื่องของสภาพแวดล้อมนัก กำลังพยายามขจัดจุดด้อยของตนให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
มีความแตกต่างบางประการระหว่างความเห็นจากฝั่งตะวันออกและตะวันตก ตัวอย่างเช่น ผู้เชี่ยวชาญชาวเอเชียมีแนวโน้มที่จะเชื่อในเรื่องปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกเกี่ยวกับเมืองที่ปราศจากการปล่อยมลพิษ มากกว่าผู้เชี่ยวชาญชาวยุโรป แอฟริกา และอเมริกา ผู้เชี่ยวชาญชาวเอเชียยังเชื่ออีกว่า ลูกค้าได้เตรียมพร้อมสำหรับการรอรับสินค้าซึ่งต้องรอนานกว่าเดิม เพื่อแลกกับระบบการขนส่งที่เป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อมมากขึ้น

ผู้เชี่ยวชาญไม่ได้คาดการณ์ถึงผลกระทบที่รุนแรงต่อระบบสังคมและการเมืองที่มีอยู่ในปัจจุบันแม้ว่าจะเกิดวิกฤติทางการเงินก็ตาม แต่ในปี 2563 โลกจะยังคงเดินหน้าด้วยกลไกตลาด การแข่งขันเพื่อการเติบโต ความมั่งคั่ง และแหล่งวัตถุดิบจะมีอยู่ต่อไป โดยมีประเทศและบริษัทต่างๆ ที่มีบทบาทสำคัญ แนวโน้มในการจ้างบริษัทอื่นผลิตสินค้าแทนการผลิตเองจะยังคงดำเนินต่อไป และบริษัทจำนวนมากจะพิจารณาถึงห่วงโซ่มูลค่าระดับโลกมากขึ้นเพื่อศักยภาพด้านการแข่งขัน การศึกษายังได้คาดการณ์อีกว่าบริษัทต่างๆ จะต้องร่วมมือกันมากขึ้นและใกล้ชิดกันยิ่งกว่าเดิม ในฐานะผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลง อุตสาหกรรมโลจิสติกส์จะเป็นตัวอย่างที่อุตสาหกรรมอื่นๆ จะปฏิบัติตาม เพื่อให้สามารถแข่งขันกับต้นทุนด้านพลังงานที่สูงขึ้น บริษัทโลจิสติกส์ต่างๆ จะลงทุนเพิ่มขึ้นในแง่ของทรัพยากรเพื่อสร้างเครือข่ายร่วมกัน การทำให้โลจิสติกส์ในอนาคตเป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อมให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ตัวอย่างเช่น เราได้ให้บริการการขนส่งที่คำนึงถึงการปล่อยก๊าซคาร์บอน อีกทั้ง เรายังเป็นบริษัทโลจิสติกส์แห่งแรกที่ริเริ่มโครงการรักษาภูมิอากาศที่ตั้งเป้าหมายอย่างชัดเจนในการลดจำนวนการปล่อยก๊าซ เราเดินมาในเส้นทางที่ถูกต้องแล้ว แต่การศึกษาแสดงให้ว่าคู่แข่งของเราจำนวนไม่น้อยจะหันมาปฏิบัติในแนวทางเดียวกับเราภายในปี 2563 โดยเราจะมุ่งมั่นในการแสวงหาวิธีใหม่ๆ มาปฏิบัติเพื่อคงความเป็นผู้นำต่อไป

การทำธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ต ทุกที่ ทุกเวลา
ลูกค้าในปี 2563 อาจจะคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม แต่อย่างไรก็ตาม ลูกค้าก็จะยังคงมีความต้องการสินค้าและบริการที่ขนส่งได้อย่างรวดเร็วที่สุด ดังนั้น ผู้บริโภคต้องการข้อมูลแบบเรียลไทม์ที่มีความละเอียดและชัดเจนยิ่งขึ้นจากซัพพลายเออร์ สิ่งนี้เองที่จะทำให้อินเทอร์เน็ตมีบทบาทสำคัญมากขึ้น ในประชากรจำนวนมาก โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่เกิดใหม่ จะทำกิจกรรมออนไลน์เกือบตลอดเวลา และประชากรสามพันล้านคนจะดำเนินธุรกิจบนเว็บไซต์เพียงอย่างเดียว การเปลี่ยนแปลงนี้จะไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในวงการธุรกิจเท่านั้น แต่จะขยายตัวไปยังทุกๆ สาขาอาชีพ นอกจากนี้ ความต้องการบริการที่มีความคล่องตัวและสามารถเรียกใช้ได้ตลอดเวลาจะเพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน

ผลกระทบทางด้านการศึกษาของไทยในระดับอุดมศึกษาในภูมิภาคอาเซียน

ผลกระทบทางด้านการศึกษาของไทยในระดับอุดมศึกษาในภูมิภาคอาเซียน
การปรับตัวและการเตรียมความพร้อมของรัฐบาลในเชิง คือ กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษาควรมีนโยบาย และแผนยุทธศาสตร์ในการรองรับการเตรียมความพร้อมของอุดมศึกษาไทยในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งที่ผ่านมา นโยบายที่รองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของรัฐบาลยังไม่มีความชัดเจนมากนักในการนำไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งควรมีนโยบายในการปรับตัวและการเตรียมความพร้อมในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแก่มหาวิทยาลัยในประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม
การปรับตัวด้านการเตรียมความพร้อมของอาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา คืออาจารย์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่ต้องพัฒนาศักยภาพของตนเองทางด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษากลางในการสื่อสารในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งที่ผ่านมาการปรับเปลี่ยนทางด้านการจัดระบบอุดมศึกษาของไทย ตั้งแต่การเปลี่ยนสถานะของอาจารย์จากที่เป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา มาเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย หรือพนักงานในสถาบันอุดมศึกษานั้น ทำให้ความมั่นคงทางด้านอาชีพ ตลอดจนความเหลื่อมล้ำทางด้านฐานเงินเดือน ซึ่งจากเดิมการปรับเปลี่ยนมาเป็นระบบพนักงานมหาวิทยาลัยนั้น รัฐบาลได้มีเจตนารมณ์ให้มีการจัดสรรงบประมาณและฐานเงินเดือนแก่พนักงานมหาวิทยาลัยมากกว่า ฐานเงินเดือนของข้าราชการ ทำให้ศักยภาพและประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน และการเพิ่มคุณภาพการศึกษาของไทยมีความอ่อนด้อยลงไปมาก ตลอดจนยังไม่มีระบบการเสริมสร้างและสนับสนุนให้พนักงานมหาวิทยาลัยได้มีการพัฒนาศักยภาพของตนเองทั้งทางด้านภาษา และการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นไปอย่างเพียงพอต่อการรองรับการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนจากผู้ที่เกี่ยวข้อง และจากมหาวิทยาลัยในสังกัดเอง ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญส่งผลต่อการศึกษาไทยในระดับอุดมศึกษา และการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้านการศึกษา รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีมาตรการในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเร็ว และมีนโยบายที่ชัดเจนต่อบุคลากรทางด้านการศึกษาดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม
การปรับตัวด้านการเตรียมความพร้อมของนักศึกษา คือนักศึกษานั้นหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเรียนรู้ปรับตัว และเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ในอนาคต เช่น นักศึกษาต้องมีความสนใจและตระหนักถึงผลที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการรวมตัวของประเทศต่างๆ สู่ประชาคมอาเซียนในส่วนของข้อดีและข้อเสียอย่างเข้าใจ การเกิดขึ้นของประชาคมอาเซียนซึ่งสังคมยุคใหม่จะสะท้อนความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมเพิ่มมากขึ้น การเรียนรู้ของนักศึกษายุคใหม่จึงจำเป็นต้องปรับทั้งกระบวนการเรียนรู้ ปรับทัศนคติที่จะต้องตระหนักถึงความเป็นชาติ การปรับกระบวนทัศน์การเรียนรู้ยุคใหม่ควรเป็นไปอย่างมีเป้าหมาย อย่างคนรู้เท่าทันสถานการณ์ การสร้างความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นที่ต่างวัฒนธรรมได้และเรียนรู้ประเทศเพื่อนบ้านทั้งในด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน พร้อมกับสร้างโอกาสเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ต้องเพิ่มทักษะทางด้านภาษาอังกฤษให้มากขึ้นให้สามารถสื่อสารได้เป็นอย่างดี

กระบวนการและองค์ประกอบของการสอนเด็กพิเศษ

กระบวนการและองค์ประกอบของการสอนเด็กพิเศษ
การศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ ได้แก่ เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา  เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน  เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา  เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ  เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้  เด็กที่มีปัญหาทางด้านอารมณ์และสังคม  เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม  เด็กปัญญาเลิศ  เด็กพิการซ้ำซ้อน  ซึ่งเด็กกลุ่มพิเศษเหล่านี้  จะไม่สามารถได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการศึกษาจัดการศึกษาแบบเดียวกันกับเด็กปกติ จึงมีความจำเป็นต่อการจัดการศึกษาแก่เด็กกลุ่มพิเศษดังกล่าว ซึ่งการจัดการศึกษาพิเศษได้รวมถึงด้านกระบวนการ สอน วิธีการสอน เนื้อหาวิชา (หลักสูตร) เครื่องมือและอุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอนที่สนองตอบต่อความสามารถ และความต้องการของเด็กพิเศษเป็นรายบุคคล

กระบวนการและองค์ประกอบของการสอนเด็กพิเศษ

เริ่มจากสังเกตพฤติกรรมทั่วไป และทำการประเมินความสามารถพื้นฐานของเด็ก เพื่อจัดวางแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล โดยเน้นการใช้เทคนิคการสอนทางการศึกษาพิเศษที่เหมาะสมกับปัญหา และความต้องการของเด็กเป็นรายบุคคล  ในการจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) ต้องมีการวางแผนการสอนด้วยความร่วมมือกันระหว่างผู้ปกครอง นักการศึกษาพิเศษ นักกิจกรรมบำบัด และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็กพิเศษ เทคนิคการสอนเด็กพิเศษควรผสมผสานความเข้าใจด้านจิตวิทยาเด็กที่เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อม ภาวะอาการ และความต้องการพิเศษของเด็ก ทั้งนี้เพื่อเพิ่มศักยภาพในการเรียนการสอนเด็กพิเศษได้อย่างมี ประสิทธิผล หลังจากผ่านการประเมินจากแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) แล้ว จำเป็นต้องคำนึงถึงหลักสูตร และวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ในแต่ละรายวิชา โดยนำข้อมูลที่ได้มาจัดทำเป็นแผนการสอนรายบุคคล ซึ่งเน้นวิธีการสอน และกระบวนการสอนอย่างเป็นระบบ มีลำดับขั้นตอนการสอนในเนื้อหาสาระของแต่ละรายวิชา การสร้างแรงจูงใจด้วยการให้รางวัลอย่างมีเงื่อนไข ให้การฝึกฝนและเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความสามารถที่มีอยู่อย่างเต็มที่ และถูกต้องเหมาะสมต่อ สภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์ ให้คำแนะนำและทำความเข้าใจแก่ผู้ปกครองหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็ก ว่าควรให้การส่งเสริมพัฒนาการแก่เด็กในด้านใดบ้าง เช่น ทักษะด้านการคิด ทักษะด้านวิชาการ ทักษะด้านการสื่อความหมาย และการใช้ภาษา เป็นต้น

วิธีการในทางปฏิบัติที่จะนำแผนกลยุทธ์มาใช้ทางด้านการศึกษา

17

ทุกบริษัทต่างช่วงชิงความได้เปรียบระหว่างการแข่งขันจากคู่แข่ง เพื่อจะได้ก้าวขึ้นเป็นผู้นำทางธุรกิจในแขนงต่างๆ ทุกการแข่งขันทางธุรกิจมักมีผู้นำและผู้ตกเป็นรองอยู่เสมอ หลายบริษัทเมื่อต้องเพลี่ยงพล้ำต่อคู่แข่งทางธุรกิจก็มักหาวิธีแก้ไขหรือโต้ตอบเพื่อจะได้ช่วงชิงความได้เปรียบและการเป็นผู้นำกลับคืนมา ซึ่งวิธีการแก้ไขและต่อสู้เมื่อธุรกิจตกเป็นรองคู่แข่งพอจะมีแนวทางสรุปสั้นๆ ดังนี้ การปรับเปลี่ยนการวางแผนกลยุทธ์และยุทธวิธีทางธุรกิจใหม่ถือเป็นอาวุธหนักที่สุดซึ่งสามารถนำมาใช้ต่อกรกับคู่แข่งทางธุรกิจ ก่อนอื่นต้องเริ่มจากศึกษาและสำรวจข้อบกพร่องของแผนกลยุทธ์เดิมเสียก่อน จากนั้นจึงให้ความสนใจเรื่องความต้องการของตลาดในปัจจุบัน แล้วพิจารณาส่วนสุดท้ายคือคู่แข่งว่ามีข้อได้เปรียบที่เหนือกว่าเราอย่างไร

เมื่อได้ข้อสรุปแล้วจึงเริ่มลงมือเขียนแผนการกลยุทธ์ทางธุรกิจขึ้นใหม่ ตัวอย่างเช่น บริษัทของเราขายคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค ตามแผนกลยุทธ์เดิมกลุ่มลูกค้าเป้าหมายคือผู้ชายวัยทำงาน เวลาต่อมายอดขายตกลงและเสียส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับบริษัทคู่แข่งซึ่งขายในราคาที่ต่ำกว่า เราจึงปรับแผนกลยุทธ์ใหม่โดยเพิ่มกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยเข้าไปด้วย เพื่อเพิ่มยอดจำหน่ายสินค้าและส่วนแบ่งทางการตลาดให้สูงขึ้นเพื่อจะกลับมาเป็นผู้ครองส่วนแบ่งทางการตลาดที่มากที่สุดเช่นเดิม โดยที่เราจะไม่ลดราคาสินค้าเพื่อรักษาระดับของผลิตภัณฑ์ไว้ เป็นต้น เราอาจใช้แผนกลยุทธ์เดิมเป็นหลักแล้วเขียนเพิ่มลงไปในส่วนที่ได้ทำการปรับเปลี่ยน หรือจะเขียนแผนกลยุทธ์ขึ้นมาใหม่ทั้งฉบับเลยก็ได้ ถ้าผลการศึกษาก่อนหน้านี้ชี้ว่าเราต้องทำการปรับเปลี่ยนแผนกลยุทธ์อย่างสิ้นเชิงเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันกับคู่แข่ง

ส่วนเรื่องยุทธวิธีหมายถึง วิธีการในทางปฏิบัติที่จะนำแผนกลยุทธ์มาใช้นั้น ซึ่งต้องทำการปรับเปลี่ยนด้วยเช่นเดียวกัน โดยสิ่งที่ต้องนำมาพิจารณาก็คล้ายคลึงกับส่วนกลยุทธ์คือ หาข้อบกพร่องในการนำแผนกลยุทธ์มาใช้ ความผิดพลาดในทางปฏิบัติเรื่องของการตลาด และเปรียบเทียบกับยุทธวิธีของคู่คู่แข่งว่าเรามีความได้เปรียบหรือเสียเปรียบในส่วนไหนบ้าง จากนั้นเริ่มวางยุทธวิธีใหม่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับกลยุทธ์ โดยข้อสำคัญที่เราต้องท่องเอาไว้ให้ขึ้นใจคือการวางแผนกลยุทธ์กับการสร้างยุทธวิธีต้องรองรับกันเป็นอย่างดี เพราะทั้งสองสิ่งนี้ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เมื่อสองสิ่งนี้สามารถประสานงานกันได้อย่างลงตัวแล้วละก็ จะถือเป็นอาวุธทางธุรกิจที่มีประสิทธิภาพและน่ากลัวมากที่สุดอย่างหนึ่งเลยทีเดียว

สิ่งที่ต้องเตรียมในการศึกษาต่อ MBA ยังต่างประเทศ

หลักสูตรที่มีผู้สนใจศึกษาต่อมากที่สุดในโลกคงหนีไม่พ้น หลักสูตร MBA หรือปริญญาด้านบริหารธุรกิจนั่นเอง เนื่องจากเป็นหลักสูตรที่เน้นพัฒนาในด้านการบริหาร ซึ่งไม่จำกัดว่าจะเป็นในรูปแบบใด ทำให้นักศึกษาหรือนักธุรกิจต่างเลือกศึกษาต่อปริญญาโทในหลักสูตร MBA ดังนั้นจึงควรเตรียมความพร้อมก่อนการสมัครเรียนต่อทางด้าน MBA โดยควรเตรียมตัว ดังนี้

1.เกรดเฉลี่ย โดยส่วนใหญ่มหาวิทยาลัยในต่างประเทศจะรับเกรดเฉลี่ยนอยู่ที่ 3.00 ขึ้นไป หลายคนจึงควรเตรียมตัวในระดับปริญญาตรีให้พร้อม

2.TOEFL IELTS ในแต่ละมหาวิทยาลัยต้องการผลสอบประเภทนี้ เพื่อวัดผลทางด้านภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะนักศึกษาต่างชาติ

3.GMAT เป็นข้อสอบสำหรับผู้ที่ต้องการสมัครเพื่อศึกษาต่อด้านบริหาร แต่ B school ส่วนใหญ่ใน อังกฤษ จะไม่ได้ require GMAT แต่ถ้าเป็นสถาบันในสหรัฐอเมริกาจะต้องใช้คะแนน GMAT โดยการสอบ GMAT จะเป็นการวัดความสามารถการใช้เหตุผลของผู้สมัคร

4.Work Experience ควรมีประสบการณ์ทางด้านการทำงานก่อน ถึงแม้บางที่อาจจะไม่ได้ระบุ เพื่อที่จะสามารถได้เปรียบเพื่อนในชั้นเรียนได้

5.Letter of recommendation เป็น การบอกเล่าให้เจ้าหน้าที่ของทางมหาวิทยาลัยรู้จักตัวคุณมากขึ้น ผ่านการบอกเล่าจากบุคคลอื่น โดยปกติจะเป็นอาจารย์หรือหัวหน้างาน

6.Statement of purpose (SOP) / Personal Statement / Essay เป็นการสื่อให้คณะกรรมการเห็นว่าคุณนั้นเหมาะสมและมีความสามารถในการเข้า ศึกษาต่อ อาจจะมีโจทย์มาให้หรือไม่มีก็ได้ ถึงแม้ว่าคำถามหรือคำตอบอาจอยู่ในรูปแบบที่ต่างกันก็ตาม แต่โดยส่วนมากแล้วคณะกรรมการคัดเลือกนักเรียนให้ความสำคัญกับวัตถุประสงค์ใน การศึกษาต่อปริญญาโท

7.Resume ควรมีความยาวประมาณ 1-1 ½ หน้า แต่นอกจากรูปแบบแล้วสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญมากที่สุดก็คือเนื้อหา นอกเหนือจากการบอกเล่าหน้าที่การทำงานแล้ว ให้บอกถึงผลสำเร็จของการทำงานของเราด้วย

8.เงิน เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย เป็นหลักฐานการยืนยันวีซ่า และฐานการเงินของผู้ปกครอง ไปจนถึงระบุการเลือกเรียนในแต่ละวิชา ซึ่งในบัญชีต้องมีรายได้ขั้นต่ำมาแสดง เพื่อเป็นหลักฐานว่ามีเงินพอในการศึกษา หากมีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย การขอทุนก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายได้

สาขาวิชาที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้

50far.comการศึกษาหาความรู้เป็นเรื่องที่สำคัญมากในการเป็นผู้ประกอบการ และยังเป็นสิ่งที่ทำให้มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาได้ดี ถึงแม้นักธุรกิจที่มีชื่อเสียงประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจโดยที่เรียนไม่จบก็ตาม ซึ่งในความเป็นจริงแล้วกลุ่มคนเหล่านี้เป็นส่วนน้อยมากๆ ดังนั้นเราจึงขอแนะนำ 6 วิชาที่ควรเรียนรู้ไว้ก่อนจะประกอบธุรกิจ

1.วิชาการตลาด ในการประกอบธุรกิจ วิชาด้านการตลาดเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ วิชาการตลาดช่วยให้เราสามารถเปิดมุมมองในการขายสินค้า และมีไอเดียในการพัฒนาสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าเพื่อเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจ

2.วิชาการบริหารจัดการ จะช่วยให้เราเข้าใจถึงหลักการบริหารเบื้องต้น ที่เริ่มตั้งแต่การบริหารคนในทีม ไปจนถึงการบริหารองค์ประกอบต่างๆในการทำธุรกิจ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับธุรกิจได้

3.วิชาการเงินและการบัญชี บัญชีเป็นสิ่งที่วุ่นวายที่สุดในการทำธุรกิจ ซึ่งหากขาดหน้าที่นี้ไปอาจทำให้ธุรกิจล้มเหลวได้ ถ้าเรียนรู้บัญชีในเบื้องต้นจะทำให้เราเข้าใจพื้นฐานของบัญชีและการจัดการภาษีได้ไม่ยาก ช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุนได้อีกด้วย

4.วิชาความสามารถในการนำเสนอ หลายคนไม่กล้าที่จะขายไอเดียของตนเอง หรือไม่พร้อมที่จะนำเสนองานต่อหน้าคนเยอะๆ หรือพูดขายสินค้าไม่มีแรงดึงดูด ไม่น่าฟัง และไม่กระตุ้นให้เกิดความอยากซื้อ ดังนั้นวิชาการนำเสนอผลงานจะช่วยให้การนำเสนอของเรานั้นดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้นไปอีกด้วย  เพราะจะสอนเกี่ยวกับการจัดเรียงหัวข้อ การใช้คำ การใช้น้ำเสียง รวมถึงท่าทางประกอบ

5.วิชาเทคโนโลยีการสื่อสาร เป็นหลักสูตรที่น่าสนใจ เพราะทุกวันนี้เทคโนโลยีและการสื่อสารต่างๆ ก็เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตและเป็นส่วนหนึ่งในการทำธุรกิจอย่างปฏิเสธไม่ได้อีกต่อไปแล้ว หลักสูตรนี้สามารถนำมาปรับใช้กับธุรกิจของเราได้

6.วิชาเศรษฐศาสตร์ ทำให้เราเข้าใจหลักกลไกของผู้บริโภค ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด การเรียนวิชานี้นั้นช่วยวิเคราะห์ธุรกิจได้อีกด้วย เนื่องจากสามารถใช้ในการคาดคะเนความเป็นไปของธุรกิจในอนาคตได้

หลักสูตรทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการประกอบธุรกิจ หลายคนอาจเคยเรียนบางวิชามาแล้ว ก็สามารถค่อยๆลงเรียนวิชาอื่นๆเพิ่มเติมได้ เพื่อสามารถนำมาทดแทนความรู้ที่ขาด หรือนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้

เมื่อธุรกิจประสบความล้มเหลว

ทุกครั้งที่ธุรกิจประสบกับความล้มเหลวหลายคนมักจะนึกท้อแท้ แต่ทว่าความท้อแท้ที่เกิดขึ้นนั้นไม่ใช่เป็นคำตอบสุดท้ายที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถลุกขึ้นมาสู้ใหม่ได้อีกครั้ง จึงขอรวบรวมข้อคิดให้กำลังใจดีๆ เมื่อธุรกิจประสบความล้มเหลวมาฝากผู้ประกอบการทุกท่านกัน ดังนี้

ยังมีคนอื่นที่แย่กว่าเราเสมอ

ความล้มเหลวที่ผู้ประกอบการเจอในวันนี้อาจจะดูรุนแรง อาจจะยากเกินกว่าที่คุณจะรับไหว จนบางครั้งทำให้คุณต้องเสียน้ำตาไปมาก แต่โปรดจงเชื่อเถอะว่ายังมีผู้คนที่เขาลำบากกว่าคุณอีกเป็นจำนวนไม่น้อย หลายคนแม้แต่บ้านก็ยังไม่มีให้กลับเพราะพวกเขามีชีวิตเพียงแค่วันนี้เท่านั้นส่วนพรุ่งนี้เป็นเรื่องของอนาคตที่ต้องให้โชคชะตาเป็นผู้ตัดสิน ดังนั้นการที่ผู้ประกอบการมายืนอยู่ในจุดนี้ได้นั้นนับว่าคุณมีความโชคดีมากกว่าคนอื่นหลายเท่าตัว ผู้ประกอบการจึงควรที่จะต้องใช้โอกาสที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดนั่นเอง

ถือเสียว่าเป็นประสบการณ์

ขอให้ผู้ประกอบการมองโลกอย่างคิดบวก และถือซะว่าความเลวร้ายที่เกิดขึ้นกับธุรกิจของคุณเป็นประสบการณ์ดีๆที่จะช่วยสร้างธุรกิจให้แข็งแกร่งขึ้นในอนาคต เพราะไม่มีนักธุรกิจคนไหนที่จะสามารถยืนอยู่บนยอดหอคอยงาช้างได้โดยที่ไม่เคยใช้ผ้าเช็ดหน้าซับน้ำตามาก่อนแน่นอน ประสบการณ์เรื่องเลวร้ายที่ต้องพบเจอในวันนี้จึงเป็นสิ่งที่ล้ำค่าต่อการทำธุรกิจในอนาคตด้วย

ยังมีพรุ่งนี้เสมอ

ถ้าเปรียบความล้มเหลวเป็นมุมมืดโปรดจงเชื่อเถอะว่าอีกไม่นานแสงสว่างก็จะต้องเข้ามาทำหน้าที่ของมันทดแทนในอีกไม่ช้า ซึ่งอย่างน้อยมันก็คือสิ่งดีๆที่ทำให้ผู้ประกอบการได้เรียนรู้ที่จะเริ่มต้นใหม่ในวันรุ่งขึ้นเสมอ ตราบใดที่พระอาทิตย์ยังคงขึ้นในทิศบูรพาโอกาสในการเริ่มต้นทำธุรกิจก็ยังคงมีอยู่เสมอมิเปลี่ยนแปลง
ฟ้าหลังฝนมักสวยงามเสมอ

เป็นเรื่องจริงที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าท้องฟ้าจะสวยงามที่สุดก็ต่อเมื่อมันได้ผ่านช่วงมรสุมพายุฝนอันหนักหน่วงมาแล้ว เปรียบได้เช่นเดียวกันกับการทำธุรกิจหากผู้ประกอบการล้มเหลวด้วยพิษมรสุมพายุทางเศรษฐกิจหรือจะด้วยอะไรก็ตามแต่ที่พัดกระหน่ำโหมเข้าใส่อย่างหนักหน่วง แต่สุดท้ายแล้วปัญหาดังกล่าวก็จะผ่านพ้นไปได้ในที่สุด ซึ่งรับรองว่าในอนาคตธุรกิจของคุณจะต้องอยู่ในขาขึ้นอย่างแน่นอนถ้าหากในตอนนี้คุณอยู่ในจุดที่ต่ำสุด ซึ่งมันเป็นสมการง่ายๆที่เด็กประถมก็คิดได้

พักได้แต่อย่าหยุด

หากผู้ประกอบการรู้สึกเหน็ดเหนื่อยและอ่อนล้าขอจงหยุดพักเสียก่อน แต่การหยุดพักของคุณจะต้องเป็นการหยุดเพื่อชาร์ตไฟและคิดทบทวนถึงสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นเท่านั้น และที่สำคัญการหยุดพักนี้จะต้องเป็นแค่การหยุดพักชั่วคราวและมีกำหนดในการหวนคืนสังเวียนธุรกิจใหม่อีกครั้ง เพื่อลองฟันฝ่าอุปสรรคหรือข้อจำกัดดูอีกสักยกหนึ่งด้วยรอยยิ้มและหัวใจของนักสู้ผู้ไม่แพ้

เชื่อเถอะ….ว่าสักวันต้องเป็นวันของเรา

การที่ผู้ประกอบการล้มเหลวในวันนี้นั่นไม่ใช่ตราบาปบอกที่บ่งบอกว่าคุณจะไม่ประสบความสำเร็จในอนาคต เพราะการที่ธุรกิจต้องล้มพับอาจจะมีปัจจัยแวดล้อมที่เข้ามาส่งผลกระทบหลายอย่าง ดังนั้นโอกาสในการทำธุรกิจครั้งต่อไปผู้ประกอบการจะต้องคิดและทำให้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้ ประเภทที่คิดและวางแผนสูงทะลุฟ้าไปถึงดวงจันทร์ได้ก็ยิ่งดี เพราถึงอย่างไรถ้าพลาดขึ้นมาคุณก็ยังอยู่ท่ามกลางดวงดาวอันเปล่งประกาย

ข้อคิดคำคมเหล่านี้ถึงแม้บางคนอาจจะมองว่ามันเป็นเพียงแค่นามธรรมที่สวยหรูแต่เพียงเท่านั้นและไม่ได้มีส่วนช่วยทำอะไรให้มันดีขึ้น แต่ในความเป็นจริงมันคือกุศโลบายที่เอาไว้ซ่อมแซมความรู้สึกและหัวใจของมนุษย์ ซึ่งผู้ที่เคยผ่านการทำธุรกิจมาแล้วจะรู้ว่าเรื่องของหัวใจมีความสำคัญมากขนาดไหน ผู้ประกอบการไม่ควรที่จะพลาดด้วยประการทั้งปวงในการหาข้อคิดดีๆเป็นยาชูกำลังในการทำธุรกิจ

การศึกษาและทำความเข้าใจระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม

ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่ให้เสรีภาพแก่ภาคเอกชนในการเลือกดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน สามารถเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต เศรษฐทรัพย์ต่างๆที่ตนหามาได้มีเสรีภาพในการประกอบธุรกิจ รวมทั้งการเลือกอุปโภคบริโภคสินค้าและบริการต่างๆ แต่ทว่าเสรีภาพดังกล่าวจะต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย โดยการดำเนินการใดๆจะต้องไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของบุคคลอื่น ใช้ระบบของการแข่งขันโดยมีราคาและระบบตลาดเป็นกลไกสำคัญในการจัดสรรทรัพยากร โดยรัฐบาลจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ จะมีหน้าที่เพียงการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองและการป้องกันประเทศ

ผู้บริโภคจะตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริกการโดยคำนึงถึงรายได้ของตน ราคาของสินค้าและบริการ ถ้าผู้บริโภคมีรายได้เพิ่มสูงขึ้นก็อาจต้องการซื้อสินค้าต่างๆมากขึ้น แต่ถ้าสินค้ามีราคาแพง ผู้บริโภคอาจลดความต้องการซื้อลงไป ผู้ผลิตถ้าค่าใช้จ่ายในการผลิต เช่น ค่าวัตถุดิบลดต่ำลง แรงจูงใจในการผลิตก็เพิ่มมากขึ้น เพราะจะได้กำไรมากขึ้น หรือสินค้าที่ตนผลิตมีราคาดีในท้องตลาดผู้ผลิตก็จะมีแรงจูงใจที่จะผลิตสินค้านั้นมาก

การเน้นส่วนหนึ่งที่เฉพาะของทุนนิยมในนิยามที่ให้ความสำคัญ นักเศรษฐศาสตร์ปล่อยให้ทำไปและเสรีนิยมเน้นระดับซึ่งรัฐบาลไม่ควบคุมตลาดและความสำคัญของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน นักเศรษฐศาสตร์แบบคลาสสิกใหม่และนักมหเศรษฐศาสตร์แบบเคนส์เน้นความจำเป็นที่ต้องมีการกำกับของรัฐบาลเพื่อป้องกันการผูกขาดและเพื่อลดผลกระทบของวัฏจักรรุ่งเรืองและตกต่ำ นักเศรษฐศาสตร์แบบมากซ์เน้นบทบาทของการสะสมทุน การแสวงหาประโยชน์และค่าจ้างแรงงาน นักเศรษฐศาสตร์การเมืองส่วนใหญ่เน้นกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลเช่นกัน

ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม

– เอกชนมีเสรีภาพในการเลือกตัดสินใจดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามที่ตนถนัด
– กำไรและการมีระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นแรงจูงใจทำให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม

– ก่อให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำอันเนื่องจากความสามารถที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคลโดยพื้นฐาน ทำให้ความสามารถในการหารายได้ไม่เท่ากัน
– ในหลายๆกรณี ราคาหรือกลไกตลาดยังไม่ใช่เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเพียงพอสำหรับการจัดสรรทรัพยากรของระบบเศรษฐกิจ
– การใช้ระบบการแข่งขันหรือกลไกราคาอาจทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจอย่างสิ้นเปลือง

ศึกษาตลาดที่จะบุกเจาะตลาดอย่างรอบด้าน

แม้AECจะเปิดกว้างมากขึ้น แต่คู่แข่งขันก็เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันผู้ประกอบการไทยจึงต้องใช้จุดแข็งที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ และยอมรับในจุดอ่อนของตนเอง เพราะที่ผ่านมาผู้ประกอบการ โดยเฉพาะกลุ่มขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) มักไม่รู้จุดอ่อนของตนเองตัวอย่างเช่น ผู้ประกอบการรายเล็กที่ออกไปเจาะตลาดต่างประเทศมักต้องการเจรจากับผู้นำเข้ารายใหญ่โดยไม่ได้คำนึงถึงกำลังการผลิตสินค้าของตนเอง ทำให้การเจรจาการค้าไม่ประสบความสำเร็จ การประเมินจุดอ่อนของตนเอง เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการไทยควรทำ เหมือนกับคำว่า “รู้เขา รู้เรา” คือ ศึกษาตลาดที่จะบุกเจาะตลาดอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะSMEsรายใหม่

1. อันดับแรกต้องศึกษากฎระเบียบ

2. ควรเดินทางเข้าไปศึกษาตลาดด้วยตนเอง แต่หากไม่มีเวลามากพอ ควรร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่มีโครงการจัดงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ เช่น กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หรือร่วมกับองค์กรของภาคเอกชน เช่นหอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ(ส.อ.ท.)

3. ศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในกลุ่มประเทศเหล่านั้น ว่ามีความต้องการบริโภคสินค้ากลุ่มใดและจะปรับสินค้าให้เข้ากับพฤติกรรมสมเด็จ สุสมบูรณ์ของลูกค้าประเทศนั้นได้อย่างไร เมื่อศึกษาตลาดรอบด้านแล้ว จึงประเมินศักยภาพของตนเองว่าสามารถรับได้กับกฎระเบียบของประเทศเหล่านั้น และผลิตสินค้าตามความต้องการของตลาดหรือไม่

ทั้งนี้ มองว่าไทยมีจุดแข็งในเรื่องของการผลิตสินค้าที่ได้รับการยอมรับจากประเทศในอาเซียนอยู่แล้ว โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ CLMV ได้แก่ กัมพูชา พม่า ลาว เวียดนาม ที่มองว่าแบรนด์สินค้าจากไทยมีคุณภาพ และการใช้กลยุทธ์ส่งเสริมการขาย จึงควรใช้จุดนี้ให้เกิดประโยชน์ สำหรับความต้องการสินค้าเป็นรายประเทศในกลุ่มอาเซียน พบว่า พม่ามีความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคทุกชนิด ซึ่งการทำการค้าสามารถเข้าไปได้ด้วยตนเองหรือหาพันธมิตรร่วมกันทำตลาด รวมทั้งสามารถขยายการลงทุนผลิตสินค้า เพราะมีจำนวนแรงงานที่มากพอ

ขณะที่เวียดนามต้องการสินค้าอุปโภคบริโภค แต่เป็นประเทศใหญ่ มีการพัฒนาเร็วมองว่าการเข้าไปขยายฐานการลงทุนผลิตสินค้าเพื่อส่งออกไปประเทศที่สามจะเหมาะกว่า ส่วนลาวแม้มีความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคจากไทย แต่เป็นตลาดเล็กมีขนาดประชากรไม่มากควรจะเข้าไปตั้งโรงงานแล้วส่งออกไปขายประเทศที่สามเช่นเดียวกัน ส่วนกัมพูชาต้องการสินค้าประเภทอุปโภคบริโภค สามารถเข้าไปค้าขายได้ด้วยตนเองรวมถึงหาพันธมิตรเข้าไปลงทุนได้

ด้านสิงคโปร์นั้นมีความสามารถด้านเทคโนโลยีการเงิน และบริการ ไทยควรใช้ประโยชน์จุดนี้ในการดึงนักลงทุนสิงคโปร์มาเป็นพันธมิตรในการทำธุรกิจอินโดนีเซียเป็นตลาดที่น่าสนใจจากจำนวนประชากรที่มีมาก ซึ่งยังมีความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคสินค้าแฟชั่น เครื่องใช้ไฟฟ้า ส่วนมาเลเซียควรหาพันธมิตรทำธุรกิจยางพารารถยนต์และส่วนประกอบ และส่งออกไปประเทศที่สาม ฟิลิปปินส์มีโอกาสด้านธุรกิจยานยนต์และส่วนประกอบ และอาหารสำเร็จรูป

การเปิดAECจะเป็นไปตามแผนปลายปี 2558 และจะไม่เลื่อนเพราะอาเซียนได้มีการพัฒนา เปิดตลาดสินค้า บริการและการลงทุนมาในระดับหนึ่งแล้ว ดังนั้นจึงเหลืองานที่จะเร่งรัดให้ได้ตามแผนอีกไม่มาก อีกทั้งหากเลื่อนจากกำหนดเดิมอาจทำให้อาเซียนแข่งขันกับประเทศนอกอาเซียนได้ช้าลง ภายใต้สถานการณ์การค้าโลกที่เปลี่ยนแปลงไปทุกวัน

การศึกษาตลาดในโลกธุรกิจยุคปัจจุบันมีความสำคัญยิ่ง

องค์กรธุรกิจที่ประสบความสำเร็จซึ่งเป็นที่รู้จักและทราบกันดีอยู่แล้วนั้นอาจกล่าวได้ว่าเกิดจากการวางแผนการบริหารและปฏิบัติการที่ดีจากหน่วยงานต่าง ๆ ภายในองค์กรซึ่งล้วนแต่มีบทบาทและมีความผสมผสานอย่างดียิ่งแต่บทบาทที่นำเด่นขององค์กรเหล่านี้คือการตลาดและมีการใช้การตลาดเป็นแรงผลักเคลื่อนองค์กรกล่าวคือ องค์กรเหล่านี้มีการศึกษาความต้องการของลูกค้า เรียนรู้และใกล้ชิดกับลูกค้าตลอดเวลามีการนำเสนอสินค้า/บริการอย่างมีคุณภาพและมีคุณค่าอย่างต่อเนื่อง สร้างสัมพันธภาพกับลูกค้าจนลูกค้าเกิดความจงรักภักดีในระยะยาวตัวอย่างขององค์กรเหล่านี้ได้แก่ บริษัทโค้ก เป๊บซี่ พี แอนด์ จี ยูนิลีเวอร์ สหพัฒนพิบูลย์ วอลท์ดิสนีย์  3 เอ็ม ไมโครซอฟ์ท ฯลฯ องค์กรเหล่านี้พยายามให้บุคลากรและทุกฝ่ายในองค์กรมีจิตสำนึกในการปฏิบัติงานเสมือนหนึ่งเป็นนักการตลาดหรือผู้ให้บริการแก่ลูกค้าไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใดก็ตาม

การตลาดในโลกธุรกิจยุคปัจจุบันมีความสำคัญยิ่ง ธุรกิจหรือองค์กรทุกแห่งต้องมีฝ่ายการตลาดหรือฝ่ายขายซึ่งจะทำหน้าที่ในการวิเคราะห์หาโอกาสทางการตลาดวางแผนและปฏิบัติการหรือดำเนินงานด้านการตลาดเพื่อเสนอสินค้าและบริการแก่ลูกค้าและตลาดเป้าหมายของตนเองโดยใช้เครื่องมือและทรัพยากรต่าง ๆ ขององค์กรให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดความสำคัญของการตลาดในธุรกิจแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันตามลักษณะของธุรกิจดังนี้  ตลาดประเภทนี้ผู้ซื้อจะกระจายอยู่ทั่ว ๆ ไปกิจการจะเสนอสินค้าหรือบริการในวงกว้างและจำนวนมาก ๆ ตัวอย่างเช่น สินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป สบู่ ผงซักฟอกของสินค้า เครื่องดื่มน้ำอัดลมล้วนแต่ต้องใช้เวลาและความอุตสาหะเพื่อจะพัฒนาภาพลักษณ์ในตรายี่ห้อของสินค้า โดยเริ่มตั้งแต่การมีตลาดเป้าหมายที่ชัดเจนและวิเคราะห์ว่าจะเสนอสินค้า/บริการอะไรเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายนี้ ตลอดจนสื่อสารให้ทราบถึงตำแหน่งของตรายี่ห้อ จุดแข็งของตรายี่ห้อของสินค้าประเภทนี้ขึ้นกับการพัฒนาและนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่ดีและมีลักษณะรูปแบบตรงกับที่ผู้บริโภคต้องการ ในการบริหารตลาดสินค้าอุปโภคและบริโภคนี้ประเด็นที่ต้องพิจารณาคือ รูปร่าง ลักษณะ ระดับคุณภาพ การครอบคลุมตลาดและค่าใช้จ่ายด้านการส่งเสริมการตลาดว่าจะสามารถทำให้ตรายี่ห้อสินค้าของเราอยู่ในลำดับต้น ๆ ได้อย่างไร

การศึกษาด้านธุรกิจเพื่อประสบความสำเร็จในการลงทุน

เพราะไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบและเพียบพร้อมเหมือนบะหมี่สำเร็จรูป เรื่องปัญหาและอุปสรรคจึงเป็นเสมือนเงาตามตัวในการดำเนินธุรกิจของทุกบริษัทในสังคมโลกเศรษฐกิจ ซึ่งปัญหาอาจหนักบ้างในบางเวลาหรือเบาบ้างในบางสถานการณ์ก็แล้วแต่อุปสรรคในขณะนั้น ประสบการณ์และความรู้มีส่วนช่วยอย่างมากในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น แต่สำหรับบริษัทธุรกิจที่เพิ่งจะก่อตั้งใหม่ๆ ดูจะเป็นประเด็นปัญหาที่สร้างความหนักอกหนักใจให้ผู้ประกอบการเป็นอย่างมาก อาจด้วยเพราะความเป็นมือใหม่ขาดประสบการณ์ในการแก้ปัญหาและองค์ประกอบทางด้านอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมากที่ไม่ได้เอื้ออำนวยให้เกิดความได้เปรียบ จึงทำให้บริษัทเพิ่งก่อตั้งใหม่มักจะไปไม่ค่อยรอดปัญหาคือสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ในการทำธุรกิจ แต่จะน่ากลัวมากยิ่งขึ้นหากเกิดกับธุรกิจที่เพิ่งจะก่อตั้ง การเรียนรู้ปัญหาก่อนที่จะเกิดขึ้นจริงจึงเป็นทางออกสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเอาชนะและฟันฝ่าอุปสรรคดังกล่าวได้

เพราะไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบและเพียบพร้อมเหมือนบะหมี่สำเร็จรูป เรื่องปัญหาและอุปสรรคจึงเป็นเสมือนเงาตามตัวในการดำเนินธุรกิจของทุกบริษัทในสังคมโลกเศรษฐกิจ ซึ่งปัญหาอาจหนักบ้างในบางเวลาหรือเบาบ้างในบางสถานการณ์ก็แล้วแต่อุปสรรคในขณะนั้น ประสบการณ์และความรู้มีส่วนช่วยอย่างมากในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น แต่สำหรับบริษัทธุรกิจที่เพิ่งจะก่อตั้งใหม่ๆ ดูจะเป็นประเด็นที่สร้างความหนักอกหนักใจให้ผู้ประกอบการเป็นอย่างมาก อาจด้วยเพราะความเป็นมือใหม่ขาดประสบการณ์ในการแก้ปัญหาและองค์ประกอบทางด้านอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมากที่ไม่ได้เอื้ออำนวยให้เกิดความได้เปรียบ จึงทำให้บริษัทเพิ่งก่อตั้งใหม่มักจะไปไม่ค่อยรอดเมื่อพบเจอเข้ากับปัญหาจนอาจปิดกิจการลงในเวลาอันรวดเร็ว หรือส่วนที่เหลือรอดอยู่ก็โซซัดโซเซกว่าจะตั้งหลักได้ก็กินเวลาปาเข้าไปหลายเดือน ดังนั้นการเรียนรู้ปัญหาก่อนจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการทุกคนไม่ควรมองข้าม เพราะจะเป็นทั้งครูและบทเรียนช่วยสอนให้ผู้ประกอบการสามารถผ่านอุปสรรคไปได้ ปัญหาที่เกิดขึ้นแม้จะแก้ไขได้ยากเย็นและต้องใช้ความอดทนสูงมากขนาดไหนก็ตาม มันก็คือบททดสอบที่ดีที่สุดของผู้ประกอบการว่าพร้อมแล้วหรือยังที่จะเดินขึ้นไปยังจุดที่สูงขึ้นอีกระดับหนึ่ง ซึ่งหากผู้ประกอบการสามารถเอาชนะปัญหาดังกล่าวได้ก็คงไม่มีอะไรที่มาทัดทานความสำเร็จในอนาคตได้อย่างแน่นอน และท้ายที่สุดแล้วชัยชนะของผู้ประกอบการก็จะถูกบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ให้นักธุรกิจใหม่รุ่นได้ศึกษากันต่อไปในที่สุด

การวางแผนการศึกษาเพื่อก้าวสู่เส้นทางการทำงาน

การที่บุคคลจะวางแผนในอนาคตได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับตัวเองได้นั้น สิ่งหนึ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญคือบุคคลต้องรู้จักความถนัดของตนเอง ทุกคนมีความถนัดในแต่ละด้านแตกต่างกันไป เมื่อเราทำสิ่งใดได้ดีก็จะทำให้เรามีความสุข และเกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง การรู้จักจุดด้อยของตัวเองจะช่วยให้เราพัฒนาได้ถูกต้อง และเรียนรู้ที่จะปรับปรุงด้านที่ไม่ถนัด ความถนัดและความสนใจมักเป็นสิ่งที่คู่กันไป ความถนัดนี้อาจสังเกตได้จากการที่บุคคลทำกิจกรรมใดหรือสิ่งใดแล้ว ทำได้ดี คล่องแคล่ว ทำแล้วประสบความสำเร็จ

การทำงานควบคู่กับการเรียน

เป็นวิธีการที่ดีเยี่ยมในการได้รับทักษะความชำนาญสำหรับอาชีพการทำงานในอนาคต การวางแผนชีวิตในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ ในกรณีของผู้ประสงค์จะศึกษาต่อจะมีหลักเกณฑ์ในการคิดตัดสินใจศึกษาต่ออย่างไรบ้าง จึงจะเหมาะสมกับตนเอง เมื่อจบแล้วจะได้ประกอบอาชีพตามที่ต้องการ และตรงกับความสนใจและความถนัด ถ้าเราสามารถปฏิบัติได้ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวแล้วก็เชื่อว่าเราต้องประสบความสำเร็จในชีวิตการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพแน่นอน เพราะว่าจะสามารถทำให้เราตัดสินใจหรือวางแผนแนวทางในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับอัตภาพของตนเอง

การทำงานที่ไม่เพียงแต่ต้องใช้ความรู้ แต่ยังต้องใช้ทักษะและความเชี่ยวชาญหลายด้านที่เกิดจากการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติงานจริงและการฝึกฝน ผู้ประกอบอาชีพทุกคนทั้งที่มีและไม่มีคุณวุฒิการศึกษาในสาขานั้นๆล้วนมีศักยภาพในการพัฒนาความสามารถการทำงานด้านต่างๆในหน้าที่ของตน ซึ่งการนำความรู้ ทักษะ และความสามารถมาประยุกต์ใช้เพื่อการประกอบอาชีพ ซึ่งในแต่ละสาขาอาชีพอันประกอบด้วยสายงานที่หลากหลาย และในแต่ละสายงานต่างมีหลายอาชีพ แต่ละอาชีพจำเป็นต้องมีสมรรถนะหลายด้าน ซึ่งแต่ละอาชีพมีงานในหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป และจำเป็นต้องใช้สมรรถนะที่หลากหลายในการทำงานในหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ

การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ

– การฝึกทักษะอาชีพ โดยจัดการศึกษาด้านอาชีพหลักสูตรระยะสั้น เพื่อสนองความต้องการของผู้เรียน
– การเข้าสู่อาชีพ เป็นการพัฒนากลุ่มเป้าหมายให้สามารถคิด วิเคราะห์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และพัฒนาตนเองเพื่อเข้าสู่อาชีพ
– กลุ่มพัฒนาอาชีพ เป็นการส่งเสริมความรู้และประสบการณ์แก่กลุ่มที่มีอาชีพประเภทเดียวกันให้สามารถพัฒนาปริมาณและคุณภาพผลผลิตเข้าสู่การจำหน่ายมีรายได้ยิ่งขึ้น
– การพัฒนาด้วยเทคโนโลยี เป็นการให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายเฉพาะที่ต้องการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาอาชีพและศักยภาพแก่ตนเองและกลุ่ม

ธุรกิจศึกษาในยุคแรกมุ่งเน้นที่การฝึกฝนและเตรียมคนให้มีอาชีพทางธุรกิจ

3

อันที่จริงคำว่าธุรกิจศึกษาหรือที่ฝรั่งเรียกว่า Business Education นั้น เกิดขึ้นในเมืองไทยมาค่อนข้างนานพอสมควรแล้ว แต่ดูเหมือนว่าคนส่วนใหญ่จะยังไม่รู้จักหรือไม่เข้าใจความหมายของคำๆนี้นัก ผู้เขียนจึงขอถือโอกาสนี้นำเสนอที่มาของคำๆนี้ โดยอาศัยความรู้เท่าที่ผู้เขียนได้มีโอกาสค้นคว้ามาธุรกิจศึกษา (Business Education) เกิดขึ้นมาในยุคไล่เลี่ยกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมในฝั่งตะวันตก เมื่อเริ่มมีการตั้งโรงงานผลิตสินค้าเพื่อทำการผลิตสินค้าจำนวนมากๆออกวางขาย ก็ส่งผลให้มีสินค้าหลากหลายชนิดทะลักสู่ท้องตลาด ประชาชนจากชนบทเริ่มทยอยเข้ามาอาศัยและทำงานอยู่ในเมือง โดยเฉพาะการทำงานในโรงงาน จึงเกิดเป็นสังคมอุตสาหกรรมขึ้นมา มีการแข่งขันค้าขายกันมากขึ้น กระบวนการแลกเปลี่ยนของต่อของก็เปลี่ยนเป็นการแลกเปลี่ยนของกับเงินแทน อุตสาหกรรมและการค้าขยายตัวทวีความซับซ้อนเพิ่มขึ้น จึงเกิดความต้องการแรงงานทั้งในภาคผลิตและภาคธุรกิจมากมายโดยเฉพาะคนที่มีความรู้และทักษะในงานธุรกิจ จึงเกิดมีโรงเรียนที่เปิดสอนวิชาที่เกี่ยวกับงานธุรกิจ เช่น วิชาบัญชี วิชาเลขานุการ วิชาพิมพ์ดีด เป็นต้น โดยเฉพาะวิชาพิมพ์ดีดได้เปิดโอกาสให้สตรีมีโอกาสเข้ามาทำงานในภาคธุรกิจได้อย่างเต็มตัว ซึ่งการจัดการเรียนการสอนวิชาเหล่านี้ก็คือการจัดธุรกิจศึกษาในยุคแรก

ที่เล่ามาข้างต้นจะเห็นว่าธุรกิจศึกษาในยุคแรกนั้น มุ่งเน้นที่การฝึกฝนและเตรียมคนให้มีอาชีพทางธุรกิจ จึงถือว่าเป็นอาชีวศึกษาแขนงหนึ่ง ซึ่งนักวิชาการตะวันตกมักเรียกว่าเป็น “Learning for business occupation” แต่ต่อมาสังคมมีการขยายตัวพร้อมๆกับการเติบโตของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม กระแสทางธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของประชาชนส่วนใหญ่ จึงเกิดแนวคิดใหม่เกี่ยวกับบทบาทของธุรกิจศึกษาเพิ่มขึ้น นั่นคือธุรกิจศึกษาคงไม่ใช่เพียงการฝึกอาชีพให้ผู้คนเท่านั้น แต่ยังสามารถเสริมสร้างความฉลาดและเข้มแข็งในฐานะผู้บริโภคให้แก่ประชาชนได้ เพราะศาสตร์ทางธุรกิจนั้นสอนให้เราเข้าใจระบบทางการค้า การตลาด เศรษฐกิจและการเงิน จึงทำให้เราเข้าใจกระบวนงานทางธุรกิจ เข้าใจผลกระทบของธุรกิจที่มีต่อประชาชนและสังคม นอกจากนี้ธุรกิจศึกษายังสามารถสอนให้เราเป็นผู้บริโภคที่ฉลาด รู้จักการเลือกสินค้าและบริการ รู้จักการออมและการลงทุนที่เหมาะสม องค์ความรู้เหล่านี้สามารถช่วยให้ประชาชนมีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและฉลาดเท่าทันเล่ห์เหลี่ยมทางธุรกิจ