ผลกระทบทางด้านการศึกษาของไทยในระดับอุดมศึกษาในภูมิภาคอาเซียน

ผลกระทบทางด้านการศึกษาของไทยในระดับอุดมศึกษาในภูมิภาคอาเซียน
การปรับตัวและการเตรียมความพร้อมของรัฐบาลในเชิง คือ กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษาควรมีนโยบาย และแผนยุทธศาสตร์ในการรองรับการเตรียมความพร้อมของอุดมศึกษาไทยในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งที่ผ่านมา นโยบายที่รองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของรัฐบาลยังไม่มีความชัดเจนมากนักในการนำไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งควรมีนโยบายในการปรับตัวและการเตรียมความพร้อมในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแก่มหาวิทยาลัยในประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม
การปรับตัวด้านการเตรียมความพร้อมของอาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา คืออาจารย์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่ต้องพัฒนาศักยภาพของตนเองทางด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษากลางในการสื่อสารในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งที่ผ่านมาการปรับเปลี่ยนทางด้านการจัดระบบอุดมศึกษาของไทย ตั้งแต่การเปลี่ยนสถานะของอาจารย์จากที่เป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา มาเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย หรือพนักงานในสถาบันอุดมศึกษานั้น ทำให้ความมั่นคงทางด้านอาชีพ ตลอดจนความเหลื่อมล้ำทางด้านฐานเงินเดือน ซึ่งจากเดิมการปรับเปลี่ยนมาเป็นระบบพนักงานมหาวิทยาลัยนั้น รัฐบาลได้มีเจตนารมณ์ให้มีการจัดสรรงบประมาณและฐานเงินเดือนแก่พนักงานมหาวิทยาลัยมากกว่า ฐานเงินเดือนของข้าราชการ ทำให้ศักยภาพและประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน และการเพิ่มคุณภาพการศึกษาของไทยมีความอ่อนด้อยลงไปมาก ตลอดจนยังไม่มีระบบการเสริมสร้างและสนับสนุนให้พนักงานมหาวิทยาลัยได้มีการพัฒนาศักยภาพของตนเองทั้งทางด้านภาษา และการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นไปอย่างเพียงพอต่อการรองรับการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนจากผู้ที่เกี่ยวข้อง และจากมหาวิทยาลัยในสังกัดเอง ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญส่งผลต่อการศึกษาไทยในระดับอุดมศึกษา และการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้านการศึกษา รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีมาตรการในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเร็ว และมีนโยบายที่ชัดเจนต่อบุคลากรทางด้านการศึกษาดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม
การปรับตัวด้านการเตรียมความพร้อมของนักศึกษา คือนักศึกษานั้นหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเรียนรู้ปรับตัว และเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ในอนาคต เช่น นักศึกษาต้องมีความสนใจและตระหนักถึงผลที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการรวมตัวของประเทศต่างๆ สู่ประชาคมอาเซียนในส่วนของข้อดีและข้อเสียอย่างเข้าใจ การเกิดขึ้นของประชาคมอาเซียนซึ่งสังคมยุคใหม่จะสะท้อนความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมเพิ่มมากขึ้น การเรียนรู้ของนักศึกษายุคใหม่จึงจำเป็นต้องปรับทั้งกระบวนการเรียนรู้ ปรับทัศนคติที่จะต้องตระหนักถึงความเป็นชาติ การปรับกระบวนทัศน์การเรียนรู้ยุคใหม่ควรเป็นไปอย่างมีเป้าหมาย อย่างคนรู้เท่าทันสถานการณ์ การสร้างความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นที่ต่างวัฒนธรรมได้และเรียนรู้ประเทศเพื่อนบ้านทั้งในด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน พร้อมกับสร้างโอกาสเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ต้องเพิ่มทักษะทางด้านภาษาอังกฤษให้มากขึ้นให้สามารถสื่อสารได้เป็นอย่างดี