องค์กรธุรกิจที่ประสบความสำเร็จซึ่งเป็นที่รู้จักและทราบกันดีอยู่แล้วนั้นอาจกล่าวได้ว่าเกิดจากการวางแผนการบริหารและปฏิบัติการที่ดีจากหน่วยงานต่าง ๆ ภายในองค์กรซึ่งล้วนแต่มีบทบาทและมีความผสมผสานอย่างดียิ่งแต่บทบาทที่นำเด่นขององค์กรเหล่านี้คือการตลาดและมีการใช้การตลาดเป็นแรงผลักเคลื่อนองค์กรกล่าวคือ องค์กรเหล่านี้มีการศึกษาความต้องการของลูกค้า เรียนรู้และใกล้ชิดกับลูกค้าตลอดเวลามีการนำเสนอสินค้า/บริการอย่างมีคุณภาพและมีคุณค่าอย่างต่อเนื่อง สร้างสัมพันธภาพกับลูกค้าจนลูกค้าเกิดความจงรักภักดีในระยะยาวตัวอย่างขององค์กรเหล่านี้ได้แก่ บริษัทโค้ก เป๊บซี่ พี แอนด์ จี ยูนิลีเวอร์ สหพัฒนพิบูลย์ วอลท์ดิสนีย์ 3 เอ็ม ไมโครซอฟ์ท ฯลฯ องค์กรเหล่านี้พยายามให้บุคลากรและทุกฝ่ายในองค์กรมีจิตสำนึกในการปฏิบัติงานเสมือนหนึ่งเป็นนักการตลาดหรือผู้ให้บริการแก่ลูกค้าไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใดก็ตาม
การตลาดในโลกธุรกิจยุคปัจจุบันมีความสำคัญยิ่ง ธุรกิจหรือองค์กรทุกแห่งต้องมีฝ่ายการตลาดหรือฝ่ายขายซึ่งจะทำหน้าที่ในการวิเคราะห์หาโอกาสทางการตลาดวางแผนและปฏิบัติการหรือดำเนินงานด้านการตลาดเพื่อเสนอสินค้าและบริการแก่ลูกค้าและตลาดเป้าหมายของตนเองโดยใช้เครื่องมือและทรัพยากรต่าง ๆ ขององค์กรให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดความสำคัญของการตลาดในธุรกิจแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันตามลักษณะของธุรกิจดังนี้ ตลาดประเภทนี้ผู้ซื้อจะกระจายอยู่ทั่ว ๆ ไปกิจการจะเสนอสินค้าหรือบริการในวงกว้างและจำนวนมาก ๆ ตัวอย่างเช่น สินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป สบู่ ผงซักฟอกของสินค้า เครื่องดื่มน้ำอัดลมล้วนแต่ต้องใช้เวลาและความอุตสาหะเพื่อจะพัฒนาภาพลักษณ์ในตรายี่ห้อของสินค้า โดยเริ่มตั้งแต่การมีตลาดเป้าหมายที่ชัดเจนและวิเคราะห์ว่าจะเสนอสินค้า/บริการอะไรเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายนี้ ตลอดจนสื่อสารให้ทราบถึงตำแหน่งของตรายี่ห้อ จุดแข็งของตรายี่ห้อของสินค้าประเภทนี้ขึ้นกับการพัฒนาและนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่ดีและมีลักษณะรูปแบบตรงกับที่ผู้บริโภคต้องการ ในการบริหารตลาดสินค้าอุปโภคและบริโภคนี้ประเด็นที่ต้องพิจารณาคือ รูปร่าง ลักษณะ ระดับคุณภาพ การครอบคลุมตลาดและค่าใช้จ่ายด้านการส่งเสริมการตลาดว่าจะสามารถทำให้ตรายี่ห้อสินค้าของเราอยู่ในลำดับต้น ๆ ได้อย่างไร